Panasonic รุ่น WCHG 28334 มี 3 ช่อง 3 สวิตซ์ ยาว 3 เมตร

 

SPECIFICATIONS

  • รางปลั๊กไฟ 3 ช่อง
  • 3 สวิตซ์
  • สายยาว 3 เมตร
  • เบรกเกอร์/ปุ่มรีเซ็ทกระแสไฟจะตัดหากกำลังไฟฟ้ารวมเกิน 3500 วัตต์
  • สวิตซ์ สามารถตัดและจ่ายกระแสไฟฟ้าของเต้ารับได้
  • ยูเรียเรซินที่ใช้ผลิตเต้ารับเป็นวัสดุที่มีคุณภาพแข็งแรงป้องกันปรากฎการณ์แทรคกิ้ง
  • มีไฟแสดงสถานะการทำงาน
  • มีม่านนิรภัยและเซฟตี้เบรกเกอร์ 3 เต้ารับ
  • ใช้ได้กับปลั๊กไฟ 2ขา และ 3ขา
  • Deging in JAPAN

..................................................................................................................................................

~เนื้อหาของ มอก.2432-2555 นัั้นมีค่อนข้างมาก ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึงรายละเอียดสำคัญๆ ที่ทำให้ชุดสายพ่วงพานาโซนิคผ่านการทดสอบมาตรฐาน

ชุดสายพ่วงที่อยู่ในขอบข่ายมาตรฐานบังคับ มี 2 แบบ
1. ชุดสายพ่วงแบบเปลี่ยนสายได้ คือนำอุปกรณ์ต่างๆ มาประกอบรวมกันเป็นชุดสายพ่วง โดยใช้เครื่องมือทั่วไป
2. ชุดสายพ่วงแบบที่เปลี่ยนสายไม่ได้ คือ ผู้ผลิตทำการผลิตขึ้นเป็นชุดสำเร็จ เมื่อถอดประกอบแล้วไม่สามารถใช้งานต่อได้
** ชุดสายพ่วงพานาโซนิค เป็นไปตามข้อ 1
..................................................................................................................................................

มาตรฐานชุดสายพ่วง มอก.2432-2555

1. เป็นชุดสายพ่วงชนิดแยกเต้ารับได้ (เป็นไปตาม มอก.166)
(ในกรณีที่เต้ารับ ตัวหนึ่งตัวใดเสีย ก็สามารถซื้อมาเปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งนั้นได้)

2. เต้ารับต้องเป็นแบบ 3 รู (L+N+G) และมีตัวปิดช่อง (ม่านนิรภัย) แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 440V กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16A

3. เต้าเสียบ เป็นไปตาม มอก.166-2549

4. สายไฟ ตาม มอก.11/มอก.955
ถ้าใช้สายขนาด 1 sqmm. ความยาวต้องไม่เกิน 2 เมตร
ถ้าใช้สายขนาด 1.5 sqmm. ความยาวต้องไม่เกิน 30 เมตร
แรงดันไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่าของเต้าเสียบและเต้ารับ

5. ชุดสายพ่วงที่มีจำนวนเต้ารับมากกว่า 2 เต้ารับ จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (ถ้ามีแค่ 2 เต้ารับ หรือน้อยกว่า จะมี หรือไม่ก็ได้)

6. ในรุ่นที่มีสวิตช์ไฟ เป็นไปตาม มอก.824-2551 / IEC 61058

7. มีเครื่องหมาย ฉลาก แสดงอย่างชัดเจน

อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ให้ใช้ 2 แบบ
• เครื่องตัดวงจรกระแสไฟฟ้าเหลือ ที่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (RCBO) มาตรฐาน IEC 60934
• อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกินแบบความร้อน (Thermal Circuit Breaker) มาตรฐาน IEC60934

** ชุดสายพ่วงพานาโซนิค ใช้ Thermal Circuit Breaker
..................................................................................................................................................

ทำไมราคาค่อนข้างสูง (เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น)

• พานาโซนิค มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ เน้นความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานมาเป็นอันดับแรกดังนั้นวัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ ทนความร้อนสูง ไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟ

• วัสดุคุณภาพนั้น พานาโซนิค เป็นผู้นำมาใช้แบรนด์เดียวในประเทศไทย เนื่องจากต้นทุนค่อนข้างสูง แต่เมื่อคำนึงถึงความปลอดภัย ก็คุ้มค่าสำหรับชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้งาน
อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปี

• ชุดสายพ่วงพานาโซนิค เป็นการนำเต้ารับที่ติดผนัง ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทนความร้อนสูง และไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ

อายุการใช้งานยาวนาน เป็น 10 ปีขึ้นไป มาประกอบกับเคส ABS ที่ทนความร้อน ทนการกระแทก

• หากมีตัวหนึ่งตัวใดเสีย (โอกาสเสียน้อยมาก) ก็สามารถซื้อมาเปลี่ยนเฉพาะจุดนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องโยนทิ้ง

• ใช้เบรกเกอร์เป็นตัวป้องกันกระแสไฟเกิน ในขณะที่แบรนด์อื่นๆ อาจจะใช้ฟิวส์ ซึ่ง มอก.ระบุว่าฟิวส์ไม่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน